ประวัติผู้แต่ง

   

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๓ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขณะทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง จนถึง พ.ศ.๒๔๓๖ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษาเศษ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ ระหว่างประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งประทับอยู่ในกรุงเทพฯ เสด็จทิวงคต ใน พ.ศ. ๒๔๓๗ สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ให้ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมารแทนเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗การศึกษาขั้น อุดมศึกษาของพระองค์นั้น เดิมได้กำหนดว่าจะให้ทรงศึกษาวิชาทหาร แต่เมื่อทรงดำรงตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร และจะต้องเสด็จขึ้น ครองราชย์ต่อไป จึงทรงศึกษาวิชาพลเรือนเกี่ยวกับกฎหมายและการปกครองด้วย ได้ทรงศึกษาวิชา การทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อยชื่อ The Royal Military Academy, Sandhurst ได้ทรงเข้าศึกษาวิชาพลเรือน ณ มหาวิทยาลัย Oxford ทรงประจำอยู่ในวิทยาลัย Christ Church ก่อนที่จะเสด็จกลับประเทศสยาม ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราชสำนักต่างๆในยุโรป เช่น ออสเตรีย ฮังการี รัสเซีย เยอรมนี และสเปน แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ ผ่านประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ได้ทรงรู้จักกับพระราชาธิบดีและผู้นำประเทศสำคัญต่างๆ พอจะกล่าวได้ว่าทั่วโลกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับ เจ้าจอมสุวัทนา (คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์) เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้โปรดเกล้า ฯสถาปนาขึ้น เป็นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ประสูติพระราชธิดา คือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรด้วยพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทรมาตัง้ แต่วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ และสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๘ พระชนมพรรษาเป็นปีที่ ๔๖ เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๑๕ พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย หลายด้านในการพัฒนาประเทศ  พระราชกรณียกิจด้านด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ที่ทรงริเริ่ม อาทิ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับแรกขึน้ เรียกว่าพระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๕ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ทัง้ ในภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ทัง้ ที่เป็นร้อยแก้ว และร้อยกรอง ทัง้ ที่เป็นสารคดี และนิยาย มีบทละครรำ ละครร้อง ละครพูด ทัง้ ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทความพระราชทานหนังสือพิมพ์ด้วย รวมกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง เป็นมรดกทางวรรณกรรมให้ประชาชนชาวไทยได้อ่านและชื่นชมสืบทอดกันมา จึงได้รับพระสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า และ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์เป็นปราชญ์สยาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น