ลักษณะคำประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์
ลักษณะคำประพันธ์ที่พบในเรื่อง มีทั้งกาพย์และฉันท์กาพย์ คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัส มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์ กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้ กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพย และคำกาวฺย หรือ กาพย มาจากคำ กวี กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต กวิ แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่นได้อีกกาพย์ ตามความหมายเดิม มีความหมายกว้างกว่าที่เข้าใจกัน ในภาษาไทย คือ บรรดาบทนิพนธ์ ที่กวีได้ ร้อยกรองขึ้นไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย นับว่าเป็นกาพย์ ทั้งนั้น แต่ไทยเรา หมายความ แคบ หรือหมายความถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ของกวีเท่านั้น
ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสเป็นมาตรฐาน ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เดิมแต่งเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ไทยนำเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในคำประพันธ์ไทย ตำราฉันท์ที่เป็นแบบฉบับของฉันท์ไทย คือ คัมภีร์วุตโตทัยในตอนที่เรียนพบคำประพันธ์ ประเภทต่าง ๆ ดังนี้

๑. กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

๒. กาพย์ฉบัง ๑๖




๓. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

๔. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔

๕.วิชชุมมาลาฉันท์ ๘

๖. อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒

๗.กมลฉันท์ ๑๒


๘.สาลินีฉันท์ ๑๑

๙. จิตระปทาฉันท์ ๘


รูปภาพประกอบ https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&docid=op5OSUB6B7KqHM&tbnid=cxBYd7eV8MdtNM:&ved=0CAYQjB0&url=http%3A%2F%2Fwww.sahavicha.com%2F%3Fname%3Dmedia%26file%3Dreadmedia%26id%3D337&ei=jy4YVKT8CYWhugT0ooDYCA&bvm=bv.75097201,d.c2E&psig=AFQjCNFrOywRX_ix-uHKAxhc2Qdx_uFPUA&ust=1410957300469686



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น