ที่มาของเรื่อง

ที่มาของเรื่อง
    บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ตามจินตนาการของพระองค์ โดยทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง ทัง้ ชื่อเรื่อง ชื่อตัวเอก และรายละเอียด ต่าง ๆเช่น ชื่อเรื่อง มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก และชื่อนางเอกของเรื่อง
มัทนะพาธา มีความหมาย ว่า ความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก ซึ่งตรงกับแก่นของเรื่อง ที่ชีใ้ ห้เห็นโทษของความรัก
ระยะเวลาในการแต่ง
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำละครพูดมาสู่วงการวรรณกรรมไทยเป็นครัง้ แรก ทัง้ นีเ้นื่องจากทรงสนพระทัยในบทละครของวิลเลียม เชคสเปียร์ จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดไว้เป็นจำนวนมาก แต่เรื่องมัทนะพาธาหรือตำนานดอกกุหลาบนี ้ เป็นบทพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทละครพูดคำฉันท์เพียงเรื่องเดียวโดยทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เมื่อวันที่ ๒ กันยายน  ๒๔๖๖ ขณะทรงพระประชวร และประทับอยู่ ณ พระราชวังพญาไท และทรงพระราชนิพนธ์เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๔๖๖ นับได้ว่าใช้เวลาเพียง ๑ เดือน ๑๗ วันเท่านัน้
ลักษณะการแต่ง
   เรื่องมัทนะพาธาใช้คำประพันธ์หลายชนิดแต่เน้นแต่งด้วยฉันท์ บางตอนใช้กาพย์ยานี กาพย์ฉบังหรือกาพย์สุรางคนางค์ และมีบทเจรจาร้อยแก้วในส่วนของตัวละครที่ไม่สำคัญ ทำให้มีลีลาภาษาที่หลากหลาย ตอนใดดำเนินเรื่องรวดเร็วก็ใช้ร้อยแก้ว ตอนใดต้องการจังหวะเสียงและ
ความคล้องจองก็ใช้กาพย์ และตอนใดที่เน้นอารมณ์มากก็มักใช้ฉันท์ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น